วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561


5 พฤติกรรมเสี่ยง “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”





Jurairat N.




หากพูดถึง “หมอนรองกระดูก” แล้ว วัยรุ่นส่วนใหญ่อาจไม่ค่อยให้ความสนใจสักเท่าไร แต่ถ้าเริ่มทำงานไปได้สักพัก คุณจะเริ่มได้ยินคำนี้บ่อยขึ้น หรือบางทีอาจได้ยินเองจากปากของหมอ เมื่อคุณไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลก็เป็นได้


หมอนรองกระดูก คืออะไร?

หมอนรองกระดูก คือเนื้อเยื่อที่ลักษณะด้านนอกเป็นเหมือนพังผืดเหนียวๆ ซ้อนกันเป็นวงรอบหลายๆ ชั้น และด้านในนุ่มๆ หยุ่นๆ คล้ายวุ้น พบในบริเวณส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ที่วางพาดยาวไปตั้งแต่คอ อก จนถึงเอว


หมอนรองกระดูก มีหน้าที่ และความสำคัญอย่างไร?

หมอนรองกระดูกทำหน้าที่เป็นข้อต่อในการขยับของกระดูกสันหลัง และรับแรงกระแทกเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น นั่ง ยืน กระโดด เอนหลัง บิดตัว และอื่นๆ เหมือนกับเป็น “โช้คอัพ” ให้กับกระดูกสันหลังของเรา ของนอกจากนี้หมอนรองกระดูกยังคอยปกป้องไม่ให้กระดูกสันหลังเคลื่อนที่อีกด้วย


ทำไมวัยทำงานถึงเสี่ยงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท?

ที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ในหมู่วัยทำงาน อายุระหว่าง 20-50 ปีนั้น เพราะเป็นวัยที่ใช้ร่างหนัก พักผ่อนน้อย และอาจจำเป็นต้องทำงานในสถานที่ และเวลาที่จำกัดอยู่เสมอๆ รวมถึงพฤติกรรมเหล่านี้ที่เสี่ยงต่ออาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท






หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการอย่างไร?

เมื่อกระดูกสันหลังได้รับการกระแทกอย่างรุนแรง หรือหมอนรองกระดูกเริ่มเสื่อมสภาพ ของเหลวภายในหมอนรองกระดูกอาจไหลทะลักออกมา แล้วไปกดทับเส้นประสาทรอบๆ จนทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นได้ สัญญาณของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือ

- ปวดบริเวณเอว คอ อก หรือหลังช่วงล่าง ปวดจิ๊ดๆ เหมือนไฟฟ้าช็อต ปวดๆ หายๆ มากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป

- บางครั้งอาการปวดอาจร้าว หรือเจ็บแปลบไปถึงต้นขา น่อง หรือเท้าได้

- อาจมีอาการชาในบริเวณที่ปวด

- บริเวณเอว หลังช่วงหลัง หรือคอรู้สึกไร้เรี่ยวแรง ขยับลำบาก

- กล้ามเนื้อบริเวณคอ หลัง เอว อก ต้นขา น่องขา หรือหลังเท้าอ่อนแรง

- หากอาการรุนแรง อาจรู้สึกชาไปถึงรอบอวัยวะเพศ รอบก้น และการขับถ่าย หรือปัสสาวะลำบาก


พฤติกรรมเสี่ยง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท


Advertisement
ก้มๆ เงยๆ บ่อยๆ หรือมากเกินไป
ยกของหนักซ้ำๆ ท่าเดิมๆ และไม่ระมัดระวัง
ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องทำงานอยู่ในบริเวณที่มีการสั่นสะเทือนบ่อยๆ เช่น เขตก่อสร้าง
ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก
อยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานานเกินไป โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานเกินไป


อยู่ในช่วงอายุวัยชรา หรืออายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป


ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ


สูบบุหรี่จัด






วิธีรักษา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

วิธีรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เป็นอยู่ โดยอาจเริ่มจากการทานยาเพื่อลดความปวด และการอักเสบ จากนั้นจึงทำกายภาพบำบัด และอาจฉีดยาลดการอักเสบที่เส้นประสาท ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด


ป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อย่างไร?
ไม่ยกของหนัก หรือยกของท่าเดิมๆ มากเกินไป
ควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานทุกๆ 2-3 ชั่วโมง
หมั่นออกกำลังกาย ทำการบริหารเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้องให้แข็งแรง


ท่ากายบริหารเสริมสร้างกล้ามเนื้อหลัง และหน้าท้อง ป้องกันอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
นอนหงาย ยกขาขึ้นข้างหนึ่งให้สูงจากพื้นประมาณ 1คืบ เข่าเหยียดตรง กระดกปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ 5 วินาที แล้วทำสลับกับขาอีกข้าง
นอนหงาย ใช้มือทั้งสองกอดเข่าข้างหนึ่ง โน้มเข่าลงมาให้ชิดลำตัว ค้างไว้ 5 วินาที แล้วทำสลับกับเข่าอีกข้าง
นอนหงาย ชันเข่าขึ้น ประสานมือสองข้างไว้ด้านหลังบริเวณเอว จากนั้นแขม่วท้อง กดหลังลงค้างไว้ 5 วินาที

ในแต่ละท่า ควรทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ทุกวัน



หากมีอาการปวดหลังรุนแรง และปวดขาร่วมด้วย อาจเป็นอาการหมองรองกระดูกทับเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยเร็วที่สุด


ขอขอบคุณ

ข้อมูล :กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล,อ.นพ. วีรศักดิ์ สิงหถนัดกิจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ภาพ :iStock

หากท่านผู้อ่านสนใจสินค้าเหล้่านี้ สามารถสั่งซื้อสินค้าราคาถูกพิเศษได้ที่>> http://www.vitamin24hr.com

ถูกที่สุดทั่วไทย สินค้าบริษัท

แอดไลน์ที่>> http://line.me/ti/p/%40vitamin24hr

หรือ ไลน์ไอดี @vitamin24hr

****

วันนี้กดไลค์เพจเราและแชร์แบบสาธารณะ เพื่อลุ้นรับขนาดทดลอง จัดส่งถึงบ้าน ประกาศผลทุกสิ้นเดือนจ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น